"False Positives in Urine Culture: Causes and Prevention"
"ผลบวกเท็จในการเพาะเชื้อปัสสาวะ: สาเหตุและวิธีป้องกัน"
"False Positives in Urine Culture: Causes and Prevention"
"ผลบวกเท็จในการเพาะเชื้อปัสสาวะ: สาเหตุและวิธีป้องกัน"
Urine culture is a crucial diagnostic tool used to identify and quantify bacteria or other microorganisms in a patient's urine. This test is invaluable in diagnosing urinary tract infections (UTIs) and guiding appropriate treatment. However, like any medical test, urine cultures are not immune to false positive results. False positives can lead to unnecessary treatments, increased healthcare costs, and patient anxiety. In this article, we will explore the causes of false positive urine cultures and discuss strategies to prevent them.
การเพาะเชื้อปัสสาวะ เป็นวิธีที่ใช้ในการระบุเชื้อและหาปริมาณของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อก่อโรคอื่นๆในปัสสาวะคนไข้ การทดสอบนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งในการวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTI) และแนวทางการรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามการเพาะเชื้อปัสสาวะก็สามารถได้ผลบวกเท็จได้เหมือนการวินิจฉัยอื่นๆ ผลบวกเท็จเป็นสาเหตุของการรักษาที่ไม่จำเป็น เพิ่มค่ารักษาพยาบาล และเพิ่มความกังวลให้กับคนไข้ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุของผลบวกเท็จของการเพาะเชื้อเชื้อปัสสาวะและการป้องกัน
False Positives in Urine Culture:
A false positive in a urine culture occurs when the test indicates the presence of bacteria or other microorganisms in the urine when, in reality, there is no infection. There are several factors that can lead to false positive results in urine culture, including:
ผลบวกเท็จในการเพาะเชื้อปัสสาวะ:
ผลบวกเท็จในการเพาะเชื้อปัสสาวะเกิดขึ้นเมื่อการทดสอบบ่งชี้ว่ามีแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์อื่น ๆ ในปัสสาวะ ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีการติดเชื้อ มีปัจจัยหลายประการที่สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดในการเพาะเลี้ยงปัสสาวะ ได้แก่
Contamination: One of the most common causes of false positives is contamination of the urine sample. Contamination can occur if the patient or the healthcare provider does not follow proper hygiene procedures when collecting the sample. For example, if the urine sample is collected without proper cleaning of the genital area, it can introduce external bacteria into the sample.
การปนเปื้อน: หนึ่งในสาเหตุหลักของการได้ผลบวกเท็จคือการปนเปื้อนของตัวอย่างปัสสาวะ การปนเปื้อนของปัสสาวะเกิดขึ้นได้เมื่อคนไข้หรือเจ้าหน้าทีไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องในขั้นตอนการเก็บตัวอย่าง เช่นการเก็บปัสสาวะโดยไม่ได้ล้างอวัยวะเพศอย่างถูกวิธี จึงทำให้มีการปนเปื้อนในตัวอย่างปัสสาวะ
Delayed Transport: Urine samples should be transported to the laboratory promptly, usually within two hours of collection. If there is a delay in transporting the sample, bacterial overgrowth can occur, leading to false positive results.
การขนส่งที่ล่าช้า: ตัวอย่างปัสสาวะควรถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการทันที หรือภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากการเก็บปัสสาวะ หากมีการล่าช้าในการขนส่ง แบคทีเรียในตัวอย่างอาจจะเจริญเติบโตเกินไป ทำให้ได้ผลบวกเท็จ
Improper Storage: Improper storage of urine samples can also lead to false positives. If the sample is not stored at the right temperature or for an extended period, bacterial overgrowth can occur.
การจัดเก็บที่ไม่ถูกต้อง: การจัดเก็บปัสสาวะในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน แบคทีเรียอาจจะเจริญเติบโตได้เอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการได้ผลบวกเท็จ
Prior Antibiotic Use: Patients who have recently taken antibiotics may have residual antibiotics in their urine, which can inhibit the growth of bacteria in culture, leading to a false negative result. To counter this, some laboratories may use techniques to neutralize the effects of antibiotics, but these methods may not always be foolproof.
การใช้ยาปฏิชีวนะ: คนไข้ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะมา อาจทำให้เกิดการยับยั้งการเจริญเติบโตในการเพาะเชื้อในปัสสาวะทำให้ได้ผลลบเท็จ ในบางห้องปฏิบัติการอาจมีการใช้เทคนิคในการทำให้ยาไม่ส่งผลต่อผลตรวจ แต่วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้เสมอไป
Asymptomatic Bacteriuria: Sometimes, individuals may have bacteria present in their urine without any signs or symptoms of infection. This condition is known as asymptomatic bacteriuria. Detecting these bacteria in a urine culture can lead to unnecessary treatment, especially in elderly patients and those with urinary catheters.
การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ: ในคนไข้บางรายมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการของการติดเชื้อ ภาวะนี้คือการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ การตรวจพบเชื้อในปัสสาวะสามารถนำไปสู่การรักษาที่ไม่จำเป็นได้ โดยเฉพาะในคนไข้สูงวัยและผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อสวนปัสสาวะ
Preventing False Positives in Urine Culture:
Preventing false positive results in urine culture is essential to ensure accurate diagnoses and appropriate treatments. Here are some strategies to help minimize the risk of false positives:
การป้องกันผลบวกเท็จในการเพาะเชื้อปัสสาวะ:
การป้องกันผลบวกเท็จในการเพาะเชื้อปัสสาวะเป็นสิ่งจำเป็นในการยืนยันผลที่ถูกต้องของการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม นี่คือข้อควรปฏิบัติเพื่อลดโอกาศการได้ผลบวกเท็จ
✅Proper Collection: Ensure that urine samples are collected following strict aseptic techniques. Patients should be educated on how to clean the genital area before providing a sample.
การเก็บตัวอย่างอย่างถูกต้อง: ตรวจสอบว่าตัวอย่างถูกเก็บอย่างถูกต้องตามเทคนิคขั้นตอนการเก็บตัวอย่างปลอดเชื้อ ควรแนะนำคนไข้ให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกวิธีก่อนการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
✅Timely Transport: Urine samples should be transported to the laboratory as soon as possible after collection to prevent bacterial overgrowth.
การขนส่งที่ถูกต้อง: ตัวอย่างปัสสาวะควรถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการโดยเร็วที่สุดหลังจากเก็บตัวอย่างเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อ
✅Correct Storage: Store urine samples at the appropriate temperature and avoid extended storage periods to maintain sample integrity.
การจัดเก็บอย่างถูกต้อง: จัดเก็บตัวอย่างปัสสาวะในอุณหภูมิที่เหมาะสมและไม่นานเกินไปเพื่อรักษาตัวอย่างปัสสาวะให้ได้ผลที่ถูกต้อง
✅Consider Clinical Context: Always consider the clinical context when interpreting urine culture results. If a patient does not exhibit signs or symptoms of a UTI, a positive culture result may not warrant treatment.
พิจารณาอาการคนไข้: วินิจฉัยอาการร่วมกับผลการเพาะเชื้อปัสสาวะ หากคนไข้ไม่แสดงอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ผลเพาะเชื้อที่เป็นบวกอาจจะไม่ต้องรักษา
✅Repeat Testing: In cases of uncertainty, it may be advisable to repeat the urine culture to confirm the presence of infection.
การทดสอบซ้ำ: ในกรณีของผลที่ไม่แน่ชัดควรทำการทดสอบเพาะเชื้อปัสสาวะเพื่อยืนยันการรติดเชื้ออีกครั้ง
Conclusion:
False positives in urine culture can have significant implications for patient care and healthcare resources. By understanding the potential causes and implementing preventative measures, healthcare providers can minimize the risk of false positive results and ensure that patients receive accurate diagnoses and appropriate treatment for urinary tract infections. Proper patient education, collection techniques, and laboratory procedures are essential in achieving reliable urine culture results.
ข้อสรุป
ผลบวกเท็จในการเพาะเชื้อปัสสาวะมีผลมากต่อการดูแลคนไข้และทรัพยากรทางด้านสุขภาพ การเข้าใจสาเหตุที่เป็นไปได้และการนำเนินการป้องกันทำให้คลินิก โรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการสามารถลดความเสี่ยงของการได้ผลบวกเท็จและมั่นใจได้ว่าคนไข้ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำและได้รับการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ที่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคนไข้ วิธีการเก็บตัวอย่าง และการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ เป็นปัจจัยสำคัญในการไดัผลเพาะเชื้อที่น่าเชื่อถือ